วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 4 การกำหนดลักษณะและตัวอักษร

จากหน่วยที่แล้วได้กล่าวถึง เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับภาษาเอชทีเอ็มแอล คำสั่งเบื้องต้นของภาษาเอชทีเอ็มแอลที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ ในหน่วยที่กล่าวถึงคำสั่งเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการจัดย่อหน้าการจัดรูปแบบของข้อความหัวเรื่อง การ กำหนดูปแบบของตัวอักษรและการกำหนดลักษณะของตัวอักษรเพื่อให้สามารถทำการจัดรูปแบบการแสดงผลของเอกสารเว็บให้เป็นรูปแบบตามต้องการ

ข้อความเรื่อง

การกำหนดข้อความให้เป็นหัวเรื่องของเนื้อหา (Heading) สามารถทำได้โดยใช้ป้ายระบุ (Tag) หรือคำสั่ง Hn…/Hn โดย n หมายถึงตัวเลขขนาดของตัวอักษรที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ซึ่งตัวเลขจะมีค่าตั้งแต่ 1-6 โดยตัวเลข 1 จะเป็นหัวข้อหัว เรื่องที่มีขนาดของตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและตัวเลข 6 จะเป็นข้อความหัวเรื่องที่มีขนาดของตัวอักษรเล็กที่สุด ซึ่งใช้เพื่อจุดประสงค์สำหรับการกำหนด ชื่อบท ชื่อหัวข้อต่าง ๆ เป็นต้น มีรูปแบบคำสั่งดังนี้


การกำหนดของข้อความหัวเรื่อง สามารถทำการกำหนดลักษณะพิเศษ (Attribute) สำหรับรูปแบบการแสดงผลคือ Align ซึ่งใช้สำหรับจัดตำแหน่งในการแสดงผล โดยสามารถกำหนดให้กึ่งกลาง (Aling = center) ชิดขวา (Aligo = right) และชิดซ้าย (Alight = left) โดยถ้าไม่กำหนดลักษณะพิเศษ Alight นี้จะเป็นการจัดให้เป็นข้อความหัวเรื่องอยู่ใน ตำแหน่งชิดซ้าย


การขึ้นบรรทัดใหม

การแสดงผลด้วยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ การขึ้นบรรทัดใหม่ด้วยการกดปุ่ม Enter ที่แป้นพิมพ์เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ ในเอกสารเว็บที่เป็นภาษาเอชทีเอ็มแอล เมื่อใช้บนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์เพื่อแสดงผลเอกสารเว็บนั้น โปรแกรมเว็บ เบราว์เซอร์จะไม่ทำการขึ้นบรรทัดใหม่ให้ โดยจะนำข้อความทั้งหมดนั้นมาเขียนต่อในบรรทัดเดียวกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความ กว้างของส่วนแสดงผลของโปรแกรมเว้บเบราว์เซอร์ ดังนั้นในการกำหนดให้มีการขึ้นบรรทัดใหม่สำหรับการแสดงผลบน โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ นั้นจะใช้คำสั่งสำหรับบอกแก่โปรแกรมเว้บเบราว์เซอร์โดยคำสั่งที่ใช้บอกแก่โปรแกรมเว็บ เบราว์เซอร์เพื่อทำการขึ้นบรรทัดใหม่คือ คำสั่ง BR ซึ่งคำสั่งนี้จะเป็นคำสั่งที่มีลักษณะเป็นป้ายระบุเดี่ยวคือไม่มีคำสั่งปิด นั่นเอง ซึ่งต่างจากคำสั่ง HN รูปแบบการใช้งานสามารถแสดงได้ดังนี้

การขึ้นย่อหน้าใหม

การใช้คำสั่งนี้คือเมื่อการขึ้นบรรทัดใหม่เหมือนกับคำสั่ง BR แต่จะทำการเว้นบรรทัดใหม่เพิ่มขึ้นให้อีกหนึ่งบรรทัด โดยคำสั่ง P นั้นสามารถใช้ได้ทั้งเป็นป้ายระบุเดี่ยวและป้ายระบุเปิด/ปิดก็ได้ โดยหากต้องการกำหนดลักษณะพิเศษเพิ่ม เติมจะต้องใช้ลักษณะของป้ายระบุเปิด/ปิดเท่านั้น ตัวอย่างคือ P align = "align type" …/P โดย align type นั้นสามารถใช้ ได้ดังนี้คือ center, left หรือ right


คำสั่งนี้จะใส่ไว้ยังตำแหน่งของเนื้อหาเอกสาร ที่ต้องการจะให้ขึ้นบรรทัดใหม่ในขั้นตอนของการแสดงผล โดยการขึ้นบรรทัดใหม่นี้จะไม่สนใจการกด Enter ในการขึ้นบรรทัดใหม่แต่จะสนใจเพียงคำสั่ง BR เท่านั้น


คำสั่งนี้จะใส่ไว้ยังตำแหน่งของเนื้อหาเอกสาร ที่ต้องการจะให้ขึ้นบรรทัดใหม่ในขั้นตอนของการแสดงผลโดยการ
ขึ้นบรรทัดใหม่นี้จะไม่สนใจการกด Enter ในการขึ้นบรรทัดใหม่แต่จะสนใจเพียงคำสั่ง BR เท่านั้น

เส้นคั่น
การใช้งานคำสั่งนี้เมื่อต้องการแบ่งข้อความบนจอภาพ โดยใช้เส้นคั่นทางแนวนอนของจอภาพซึ่งสามารถกำหนด
ตำแหน่งสีขนาดของความหนา ความยาว หรือกำหนดแบบเส้นทึบได้ โดยมีรูปแบบการใช้งานคำสั่งดังนี้



จากการกำหนดคุณลักษณะเพิ่มเติมของคำสั่ง HR สามารถอธิบายได้ดังนี้
ALIGN คือการจัดตำแหน่งของเส้นว่าจะอยู่ตำแหน่งใดของจอภาพ
CENTER,LEFT,RIGHT COLOR คือการกำหนดสีของเส้นคั่น
SIZE คือการกำหนดขนาดความหนาของเส้นคั่น
WIDTH คือการกำหนดความยาวของเส้นคั่น
NOSHADE คือการกำหนดให้เส้นคั่นเป็นเส้นทึบ

การจัดรูปแบบตัวอักษร
การกำหนดตัวอักษรตัวหนา
การกำหนดลักษณะของตัวอักษรเพื่อให้แสดงผลเป็นตัวอักษรแบบตัวหนา (Bold) เพื่อใช้ประโยชน์ในการเน้นข้อความ
ในประโยค การกำหนดลักษณะของตัวอักษรที่แสดงผลให้เป็นตัวหนานั้น สามารถกำหนดโดยใช้คำสั่ง B…/B




การขีดเส้นใต้ข้อความ
การขีดเส้นใต้ข้อความ (Underline) เพื่อประโยชน์ในการเน้นข้อความในเอกสารเว็บเช่นเดียวกับคำสั่งที่เน้นตัวอักษร เป็นตัวหนา การขีดเส้นใต้ข้อความภายในเอกสารเว็บนั้นสามารถ ทำได้โดยการใช้คำสั่ง U…/Uโดยมีรูปแบบการใช้คำสั่ง

ดังตัวอย่าง


การกำหนดตัวอักษรเป็นตัวเอียง
การกำหนดตัวอักษรในเอกสารเว็บให้เป็นตัวเอียง (Halic) ใช้ประโยชน์ในการเน้นข้อความเช่นเดียวกับตัวอักษรตัว หนาและขีดเส้นใต้ ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้คำสั่ง I…/I โดยรูปแบบการใช้งานคำสั่งดังตัวอย่าง
การกำหนดตัวอักษรกะพริบ
การกำหนดข้อความที่แสดงผลบนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ให้แสดงผลแบบกระพริบ ทำได้โดยใช้คำสั่ง BLINK…/BLINK โดยคำสั่งนี้จะมีผลกับการแสดงผลเอกสารเว็บโดยใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์ Netscape แต่จะไม่มีผลกับการแสดงผลเอกสารเว็บโดยใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ Internet Explorer



การกำหนดตัวอักษรเป็นตัวห้อย
การกำหนดรูปแบบการแสดงผลให้เป็นตัวอักษรตัวห้อย ใช้ประโยชน์ในกรณีที่ต้องการแสดงผลที่ระดับต่ำกว่า ระดับปกติและมีขนาดเล็กกว่าตัวอักษรปกติ สามรถทำได้โดยการใช้คำสั่ง SUB…/SUB รูปแบบการใช้งานคำสั่งสามารถ แสดงผลได้ดัง ตัวอย่าง



การกำหนดตัวอักษรเป็นตัวยก
การกำหนดรูปแบบการแสดงผลให้เป็นตัวอักษรตัวยก ใช้ประโยชน์ในกรณีที่ต้องการแสดงผลที่ระดับสูงกว่าระดับ ปกติและมีขนาดเล็กกว่าตัวอักษรปกติ สามารถ ทำได้โดยการใช้คำสั่ง SUP…/SUP รูปแบบการใช้คำสั่งสามารถ แสดงได้ดังตัวอย่าง



การกำหนตัวอักษรเคลื่อนที่
การกำหนดแสดงผลของข้อความให้มีการเคลื่อนที่ของตัวอักษรหรือข้อความ โดยปกติการเคลื่อนที่ของตัวอักษร นั้นจะเคลื่อนที่จากขวาไปซ้าย การแสดงผลในรูปแบบนี้สามารถทำได้โดยการใช้คำสั่ง MARQUEE…/MARQUEE ซึ่งคำสั่งนี้สามารถแสดงผลเมื่อใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์ Imternet Explorer เท่านั้น โดยมีรูปแบบการใช้งานคำสั่งนี้



การกำหนดลักษณะของตัวอักษร
การกำหนดลักษณะของตัวอักษรที่แสดงผลบนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์เช่นสีของตัวอักษร ฟอนต์ของตัวอักษร สามารถกำหนดได้โดยการใช้คำสั่งFONT…/FONT จากนั้นทำการกำหนดลักษณะต่าง ๆ เหล่านั้น โดยการระบุลักษณะ พิเศษ (Attribute) ลงไปตรงป้ายระบุเปิดคำสั่ง FONT

การกำหนดฟอนต์ของตัวอักษร
การกำหนดฟอนต์ของตัวอักษรที่ต้องการแสดงผลบนโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์นั้นสามารถทำการกำหนดได้โดย ระบุลักษณะพิเศษ (Attribute) คือ FACE ลงไป จากนั้นทำการระบุชื่อของฟอนต์ที่ต้องการแสดงผล เช่น "Ms Sans Serit", "Tahoma" เป็นต้น โดยคำสั่ง FACE นี้จะอยู่ภายใต้คำสั่ง FONT สามารถแสดงได้ดังนี้





การกำหนดสีของตัวอักษร
การกำหนดสีของตัวอักษร สามารถทำการกำหนดได้โดยการกำหนดลักษณะพิเศษ(Attribute) ที่ชื่อว่า Color ลงไป จากนั้นตามด้วยชื่อของสี เช่น red, blue, green , yellow เป็นต้นอาจทำกำหนดรหัสของสีที่ต้องการลงไป เช่น #9935A5, แสดงได้ดังนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น