วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 1 การทำงานของระบบเว็บเพจ

หน่วยนี้จะกล่าวถึงระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยจะกล่าวความเเป็นมาของหน่วยอินเตอร์เน็ต ความสำคัญของระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน ระบบหมายเลขและระบบชื่อที่ใช้อ้างตำแหน่งที่อยู่ของ เครื่องคอมพิวเตอร์ ในระบบเครือข่าย ระบบเว็บเพจภาษาที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ และโปรแกรมสำหรับ สร้างเว็บเพจ

อินเทอร์เน็ต
ในสังคมยุคข่าวสารเช่นปัจจุบันนี้ แทบจะไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่าอินเตอร์เน็ตเหตุเพราะอินเตอร์เน็ตได้กลาย เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากในโลกนี้ไปแล้ว ประมาณกันว่าในแต่ละวันมีผู้คนมากกว่า 50 ล้านคนในประเทศต่างๆกว่า 150ประเทศทั่วโลก กำลังใช้อินเตอร์เน็ตกันอยู่อาจเป็นนักศึกษาคนหนึ่งในประเทศออสเตรเลียที่ กำลังสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษหรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นกำลัง สั่งซื้อหนังสือจากประเทศไทยเป็นต้น การประกอบกิจกรรมต่างๆในอินเตอร์เน็ตดังที่ได้กล่าวมานี้เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นภาพของการสื่อสารที่ไร้พรมแดนได้อย่างชัดเจน
การใช้อินเตอร์เน็ตในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้นโดยได้ก้าวล่วงเข้าไปในทุกสาขาอาชีพไม่ได้จำกัดอยู่ เฉพาะด้านการศึกษาหรือการวิจัยเหมือนเมื่อเริ่มมีการใช้อินเตอร์เน็ตใหม่ๆ ด้วยคุณสมบัติการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาขององค์กรทั้ง หลายได้มีความพยายามนำอินเตอร์เน็ตมาใช้เพื่อประโยชน์สำหรับหน่วยงานของตนในรูปแบบต่างๆอาทิการประชา- สัมพันธ์องค์กร การโฆษณาสินค้า การค้าขาย การติดต่อสื่อสาร ฯลฯนอกจากนี้อินเตอร์เน็ตยังกลายเป็นอีกสื่อหนึ่งของความบันเทิงภายใน ครอบครัวไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ก็ตาม ล้วนแล้วแต่ สามารถ กระทำผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทั้งสิ้น

ความหมายของอินเตอร์เน็ต
“อินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่าInternational Networkเป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วย เครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
คำว่า “เครือข่าย” หมายถึง
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล(ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน

ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้านทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม
และอื่นๆ ดังนี้

ด้านการศึกษา
สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้ อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่นๆเพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
ต่างๆ เป็นต้น

ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ที่ เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น

ด้านการบันเทิง
การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่างๆผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆโดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสารตามร้านหนังสือทั่วๆไป สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่และ เก่ามาดูได้
จากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศที่ทันสมัย การติดต่อสื่อสารที่สะดวก และรวดเร็ว แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก โดยสรุป อินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยใน การตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร

หมายเลขไอพี

หมายเลขไอพี หรือ ไอพีแอดเดรส (IP Address, Internet Protocol address) คือหมายเลขค่าหนึ่งใช้ในระบบเครือข่าย ที่ใช้โปรโตคอล Internet Protocol คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบจึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสิบจำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดย หมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับ คือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร
ตัวอย่างของหมายเลขไอพี ได้แก่ 207.142.131.236 ซึ่งเมื่อแปลงกลับมาในรูปแบบที่อ่านได้จะเรียกว่า โดเมนแอด- เดรส ผ่านทาง โดเมนเนมซีสเทม (Domain Name System) ซึ่งหมายเลขนั้นหมายถึง www.wikipedia.org
ไอพีเวอร์ชัน 4 ระบบตัวเลขไอพีที่ใช้ในปัจจุบันเป็นระบบ ไอพีเวอร์ชั่นที่ 4 ซึ่งจะเป็นระบบ 32 บิตหรือสามารถ ระบุเลขไอพีได้ตั้ง 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 (ตัวเลขบางตัวเป็นไอพีสงวนไว้สำหรับหน้าที่เฉพาะเช่น 127.0.0.0 จะเป็นการระบุถึงตัวอุปกรณ์เองไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะมีไอพีสื่อสารจริงๆเป็นเท่าไร) อย่างไรก็ตามจากระบบตัวเลขที่จำกัด นี้สามารถเพิ่มขยายด้วยเทคนิคของไอพีส่วนตัว (private IP) กับการแปลงไอพี (Network Address Translation หรือ NAT) ไอพีเวอร์ชัน 6 ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยจุดประสงค์หลักในการแก้ปัญหาการขาดแคลนจำนวนหมายเลขไอพีซึ่งกำหนด โดยมาตรฐานไอพีเวอร์ชั่นที่ 4 ซึ่งในมาตรฐานของเวอร์ชั่น 6 นี้จะใช้ระบบ 128 บิตในการระบุหมายเลยไอพี

ระบบชื่อโดเมน
ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System) หรือ ดีเอ็นเอส (DNS) เป็นระบบการตั้งชื่อให้กับ "ทรัพยากรเครือข่าย” แต่ที่พบโดยทั่วไปคือ การตั้งชื่อโฮสต์เพื่อใช้แทนไอพีแอดเดรส ดีเอ็นเอสเป็นระบบชื่อที่มีฐานข้อมูลแบบกระจาย โดยไม่มีหน่วยงานหรือสถาบันใดควบคุมหรือมีฐานข้อมูลเดี่ยว ครอบคลุมทั้งอินเทอร์เน็ต แต่ละเครือข่ายใน อินเทอร์เน็ตจะมีดีเอ็นเอสเซอร์ฟเวอร ์เก็บรักษาฐานข้อมูลและบริหารข้อมูล อย่างอิสระเพื่อให้ไคลเอ็นต์ขอบริการ สอบถามข้อมูลตามแบบโปรโตคอลที่กำหนด ดีเอ็นเอสจึงเป็นทั้งระบบการตั้งชื่อและโปรโตคอลรวมอยู่ด้วยกันการติดต่อ กับผู้ใช้งานประจำเครื่องใดๆ เช่นการส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลอาจใช้ ไอพีแอดเดรสระบุถึงคอมพิวเตอร์ปลายทาง ได้เช่น somchai@176.16.0.1 หรือใช้เบราเซอร์เปิดอ่านเว็บเพจโดยใช้ http://192.0.34.65 แต่การใช้ไอพีแอดเดรสดังตัวอย่าง ที่กล่าวมานั้น ไม่อำนวยสะดวกต่อการจดจำ ในอินเทอร์เน็ตจึงใช้วิธีตั้งชื่อให้กับเครื่องเพื่อให้ผู้ใช้จดจำ ได้ง่ายกว่าตัวอย่างเช่นอีเมลแอดเดรสข้างต้นอาจเขียนแทนด้วย somchai@ku.ac.th หรือการเปิดอ่านเว็บเพจโดยใช้ http://www.isoc.org/เมื่อใช้ชื่อแทนไอพีแอดเดรสสำหรับเรียกใช้บริการหนึ่งๆ โปรแกรมประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับบริการนั้นจะใช้ กลไกของ ระบบเพื่อแปลงชื่อไปเป็นไอพีแอดเดรส และนำไอพีแอดเดรสนั้นติดต่อไปยัง คอมพิวเตอร์ปลายทางต่อไป


รูปแบบการเขียน

การเขียนชื่อคอมพิวเตอร์ประจำโดเมนใดๆจะเริ่มต้นจากชื่อเครื่องตามด้วยชื่อโดเมนย่อยที่คั่นด้วยจุดและปิดท้าย ด้วยจุดซึ่งแสดงถึงจุดบนสุดหรือเรียกว่า ราก (root) เครื่องหมายจุดเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ระบุว่าชื่อได้สิ้นสุดโดยไม่มีชื่อต่อท้ายอีกและเรียกชื่อชื่อนั้นว่าเป็นชื่อสัมบูรณ์ (absolute name) ทั้งนี้เพื่อป้องกันความสับสนกับชื่อที่เขียนแบบสัมพัทธ์ ตัวอย่างเช่นชื่อ www.moe.go.th. มีความหมายดังต่อไปนี้
www ชื่อเครื่อง (host name)
moe ชื่อโดเมนกระทรวงศึกษาธิการ
go ชื่อโดเมนในหมวดหน่วยงานราชการ
th ชื่อโดเมนสัญชาติไทย
. สัญลักษณ์แทนราก

เทคโนโลยีเว็บเพจ

การนำเสนอข้อมูลในระบบ WWW (World Wide Web) พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี 1989 โดยทิม เบอร์เนอร์ ลี นักวิศวกรรมซอฟต์แวร์ จาก ห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (EuropeanParticle Physics Labs) หรือที่รู้จักกัน ในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้มีการพัฒนาภาษา ที่ใช้สนับสนุน การเผยแพร่เอกสาร ของนักวิจัย หรือเอกสารเว็บ (Web Document) จากเครื่องแม่ข่าย (Server) ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบ WWW เรียกว่า ภาษา HTML (HyperText Markup Language)
การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (WebPage) เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบันไม่ เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่างๆ เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป สามารถเผยแพร่ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว มีลูก เล่นและ เทคนิคการนำเสนอที่หลากหลาย อันส่งผลให้ระบบ WWW เติบโตเป็นหนึ่ง ในรูปแบบบริการ ที่ได้รับความ นิยมสูงสุด ของระบบอินเทอร์เน็ต


ลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ คือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บได้ ตลอดจน สามารถ เชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ ในระบบเครือข่าย อันเป็นที่มาของคำว่า HyperText หรือข้อความที่มีความสามารถ มากกว่า ข้อความปกตินั่นเอง จึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเว็บ สามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ ด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่มีการใช้งานนั่นเอง ด้วยความสามารถดังกล่าวข้างต้น จึงมีผู้ให้คำนิยาม Web ไว้ดังนี้
"World Wide Web as a global, interactive, cross-platform, distributed, graphical hypertext information system that
runs over the Internet."


The Web is a Graphical Hypertext Information System.



การนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บ เป็นการนำเสนอด้วยข้อมูลที่สามารถเรียกหรือโยงไปยังจุดอื่นๆ ในระบบกราฟิกซึ่งทำ ให้ข้อมูลนั้นๆ มีจุดดึงดูดให้น่าเรียกดู The Web is interactive.
การทำงานบนเว็บเป็นการทำงานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นเว็บจึงเป็นระบบ Interactive ในตัวมันเอง เริ่มตั้งแต่ผู้ใช้เปิดโปรแกรมดูผลเว็บ (Browser) พิมพ์ชื่อเรียกเว็บ (URL : Uniform Resource Locator) เมื่อเอกสารเว็บแสดงผลผ่าน เบราเซอร์ ผู้ใช้ก็สามารถคลิกเลือกรายการ หรือข้อมูลที่สนใจ อันเป็นการทำงานแบบ โต้ตอบไปในตัวนั่นเอง

ภาษาเอชทีเอ็มแอล

เอชทีเอ็มแอล (HTML) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สร้างเว็บเพจ ย่อมาจาก HyperText Markup Language เว็บเพจ
คือ เอกสารเอชทีเอ็มแอลที่ประกอบด้วยข้อความและแท็กเอชทีเอ็มแอล (HTML tags) เว็บเบราว์เซอร์จะแปลความหมาย
ของแท็กที่อยู่ในเอกสารเอชทีเอ็มแอล แล้วแสดงเอกสารออกมาเป็นเว็บเพจ

โปรแกรมสร้างเอกสารเว็บ

โปรแกรมสร้างเอกสารเว็บ การพัฒนาเว็บเพจ หรือเอกสารเว็บนับเป็นศาสตร์หนึ่งที่นักคอมพิวเตอร์ และผู้สนใจ ทั่วไปสนใจที่จะศึกษา เพื่อสร้างสรรค์ผลงานชิ้นงานในดวงใจ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เผยแพร่สู่สายตามวลชน อย่างกว้างไกล แต่เดิมการพัฒนาเว็บเพจจะอาศัยโปรแกรมประเภท Text Editor โดยผู้พัฒนาจะต้องศึกษาภาษา HTML(HyperText Markup Language) ซึ่งสร้างภาระให้กับผู้สนใจในกลุ่มที่ไม่ได้ศึกษาด้านไอทีมาโดยตรง รวมทั้งปัจจุบัน เทคโนโลยีเว็บเพจได้เปลี่ยนรูปแบบ มีการนำภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น VBScript, JavaScript, Java ฯลฯ มาผสมผสาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บเพจ และฟังก์ชันการทำงานให้ตรงกับความต้องการมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นเครื่องมือพัฒนา เว็บเพจ จึงเป็นหัวข้อหลักของโปรแกรมเมอร์สาขานี้ ที่จะพัฒนาออกมาเผยแพร่ให้กับผู้สนใจเพื่อเลือกใช้งาน

เครื่องมือพัฒนาเว็บเพจ ที่มีใช้งานในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้ดังนี้

Simple Text Editors
HTML Enhanced Text Editors
WYSIWYG HTML Generator & Website Managers
Save AS HTML Capabilities
Browser-based HTML Editors
Web Server/Developer Platforms

การพัฒนาเว็บเพจด้วยการลงรหัส HTML ด้วยโปรแกรม Simple Text Editors

เครื่องมือพัฒนาเว็บลักษณะนี้นับเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สุด โดยจะอาศัยโปรแกรม Text Editor ต่างๆ ที่มักติดตั้ง มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ (Operating System; OS) เช่น QEdit, Editor, NotePad, WordPad, vi editor, pico editor, SimpleText เป็นเครื่องมือลงรหัสคำสั่ง HTML หรือภาษาอื่นๆ ตามแต่ลักษณะของเว็บที่ต้องการนำเสนอ โดยผู้พัฒนา จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมเหล่านี้ ความรู้เกี่ยวกับภาษาพัฒนาเว็บต่างๆ รวมทั้งความคิดจินตนาการ ที่ตรงกับแผนการพัฒนาที่กำหนดไว้ก่อนหน้า เนื่องจากผู้พัฒนาจะไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ของเว็บได้ทันที
แม้ในปัจจุบันจะมีโปรแกรมช่วยเหลือในการพัฒนาเว็บออกมาอย่างมากมาย แต่นักพัฒนาเว็บระดับมืออาชีพส่วนมาก ก็ยังเลือกที่จะใช้ Text Editor กลุ่มนี้อยู่ เนื่องจากความคุ้นเคยในการลงรหัส ความสะดวกในการเรียกใช้งาน และแก้ไขเอกสาร ความสามารถในการควบคุมการจัดตำแหน่งเอกสารเพื่อการแก้ไขในภายหน้า และที่สำคัญที่สุดก็คือ ภาษา HTMLรวมทั้งภาษาพัฒนาเว็บอื่นๆ ยังมีการพัฒนาคำสั่งอยู่ตลอดเวลา การพัฒนาเว็บด้วยวิธีนี้ จึงสามารถลงรหัสคำสั่งใหม่ๆ ได้ ตามต้องการ ในขณะนี้โปรแกรมพัฒนาเว็บอื่นๆ อาจจะยังไม่รู้จักคำสั่งใหม่ๆ เหล่านี้
อย่างไรก็ตามวิธีนี้ ก็ไม่เหมาะสำหรับ ผู้พัฒนาในระดับต้น เพราะต้องศึกษาคำสั่ง HTML และใช้เวลาในการพัฒนาพอ สมควร ในแต่ละหน้าเว็บ ตลอดจนไม่เห็นผลลัพธ์ จากการป้อนคำสั่งทันที ต้องเรียกผ่านโปรแกรมเบราเซอร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น